Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

INTERFAITH BUDDY for PEACE

พันธกิจของเรา

สร้างพื้นที่ปฏิบัติการถักทอ ฟื้นฟูมิตรภาพ ด้วยวัฒนธรรมสันติภาพและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อสร้างสันติภาพและความปรองดองที่ยั่งยืนในสังคม

ใช้แนวทางการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง (conflict transformation) เพื่อฟื้นฟูมิตรภาพ สร้างสันติภาพและความปรองดอง (reconciliation process) ในสังคม  และใช้แนวคิดจิตวิทยางานกระบวนการ (process-work psychology) และทฤษฎีความจริงสามระดับ เป็นหนึ่งในวิธีวิทยาในการเชื่อมโยง / ค้นหา / ส่งเสริมการสร้างเพื่อนรักและบัดดี้ระหว่างศาสนา ท่ามกลางความแตกต่างทางอัตลักษณ์ในพื้นที่ความขัดแย้งรุนแรง ยืดเยื้อ ในจังหวัดชายแดนใต้

ความรุนแรงชายแดนใต้ที่ปะทุขึ้นใหม่ในปี 2547 สร้างการแบ่งแยกร้าวลึกครั้งใหญ่ระหว่างพุทธ-มุสลิม เมื่อมีพระภิกษุสงฆ์ตกเป็นเป้าสังหาร ส่งผลให้สายใยโอบอุ้มเกลียวสัมพันธ์ระหว่างสองวัฒนธรรมหลักในชายแดนใต้คือ มลายูมุสลิมและไทยพุทธคลายเกลียวความสัมพันธ์ที่เคยแนบแน่น กลายเป็น เปราะบาง สุ่มเสี่ยงจะแยกขาดจากกัน

พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ เริ่มทำงานถักทอความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาร่วมกับผู้นำพุทธ มุสลิม และคริสต์ในพื้นที่ชายแดนใต้ตั้งแต่ปี 2554  โดยกล่าวได้ว่า โครงการเพื่อนรักต่างศาสนาฯ นี้ เป็นผลลัพธ์การปูทางจากคนที่ทำงานในพื้นที่มาก่อนหน้า ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาด สุวรรณบุปผา นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงในด้านการสานสัมพันธ์ระหว่างศาสนา ผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจให้พัทธ์ธีราตัดสินใจที่จะมาขอใช้ทุนหลังเรียนจบปริญญาเอกที่สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล นับแต่สำเร็จการศึกษา ในปี 2556 และได้ร่วมกับอาจารย์ปาริชาด ก่อตั้งกลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) และร่วมก่อตั้งกลุ่ม “ศาสนิกสตรีเพื่อสันติภาพ (Women of Faith for Peace)” ในปลายปี 2557 และขับเคลื่อนงานด้านศาสนสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้ชื่อแผนงาน “สานเสวนาพระสังฆาธิการ-ผู้นำศาสนาอิสลาม” ก่อนที่ท่านอาจารย์จะจากไปชั่วนิรันดร์

ผศ.ดร.ปาริชาด สุวรรณบุปผา (ขวาสุด) ระหว่างนำกิจกรรมสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างคนต่างศาสนาในชายแดนใต้
 

นอกจากนี้ โครงการเพื่อนรักต่างศาสนายังถือได้ว่าเป็นความสืบเนื่องจากความมุ่งมั่นตั้งใจของท่านพระครูประโชติรัตนานุรักษ์ (เจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ นราธิวาส) พระอาจารย์ผู้ที่เป็นทั้งต้นแบบและเพื่อนร่วมงานแข็งขัน ผู้เป็นที่เคารพรักจากทั้งคนพุทธและมุสลิม และน่าเศร้าที่ท่านต้องจากไปในต้นปี 2562 ก่อนวัยอันควรด้วยเหตุการณ์ลอบสังหารที่ไม่ควรจะเกิดแก่ท่าน

อีกท่านหนึ่ง คือ ท่านอิหม่ามยะโกบ หร่ายมณี (อิหม่ามมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี) ผู้ซึ่งมุ่งมั่นตั้งใจทำงานร่วมกับคนพุทธในพื้นที่ แม้จะเป็นที่ไม่พอใจของคนมุสลิมหลายกลุ่มก็ตาม  พัทธ์ธีราก็เคยได้ช่วยกันทำงานศาสนสัมพันธ์กันมากับท่านตั้งแต่ปี 2553 ก่อนที่ท่านจะถูกลอบสังหารในปี 2556

พระครูประโชติรัตนานุรักษ์
(เจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ นราธิวาส)
อิหม่ามยะโกบ หร่ายมณี
(อิหม่ามมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี)

แรงบันดาลใจจากเพื่อนร่วมงานผู้เป็นแบบอย่างเหล่านี้ ทำให้พัทธ์ธีรายังคงมุ่งมั่นและปรารถนาจะสานต่องานในเรื่องการสร้างสันติภาพผ่านมิติทางศาสนาที่เหล่าเพื่อนร่วมงานได้สร้างผลงานปูทางไว้ให้ได้นำมาถักสาน

พัทธ์ธีราจึงเดินหน้าทำงานวิจัยต่อ ในเรื่อง บทบาทผู้นำศาสนากับการสร้างสันติภาพ (พัทธ์ธีรา, 2563) โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่อง “เพื่อนรักข้ามศาสนา” และ “สุขภาพสะพานสู่สันติภาพ” ผลการวิจัย พบว่าผู้นำศาสนาเป็นตัวแสดงสำคัญในการยึดเหนี่ยวความกลมเกลียวในสังคมชายแดนใต้ ดังนั้น พัทธ์ธีราจึงได้ขยายงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในภาคสนาม เรื่อง เพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย ในช่วงปี 2563-2564 ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากแผนงาน “นโยบายชี้นำสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล” ร่วมกับชาญชัย ชัยสุขโกศล, กูมูฮำหมัด นูร กูโนะ และชาริต้า ประสิทธิหิมะ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และรองศาสตราจารย์ ดร.โคทม อารียา อดีตคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) เป็นที่ปรึกษา

โครงการเพื่อนรักต่างศาสนาใช้มิติทางสุขภาพเป็นแกนกลางเพื่อสร้างพื้นที่ปฏิบัติการถักทอความสัมพันธ์หลังจากที่ความรุนแรงได้สร้างรอยแบ่งแยกร้าวลึกระหว่างผู้คนในพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อให้การฟื้นฟูความสัมพันธ์เข้มแข็งและยั่งยืน สามารถสร้างกลไกเชื่อมประสานความกลมเกลียวทางสังคม (social cohesion) ให้แน่นแฟ้นและส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อความยั่งยืน

โครงการฯ มีเป้าหมายขยายเครือข่ายสร้างเพื่อนรักต่างศาสนานักเปลี่ยนแปลงสังคมจากชุมชนฐานรากสู่การสร้างสันติภาพและความเป็นธรรมที่ยั่งยืนและครอบคลุมมิติการสร้างสันติภาพแบบองค์รวม (holistic approach) บนฐานสันติวัฒนธรรมและการเคารพสิทธิและศักดิศรีความเป็นมนุษย์

คณะทำงาน (ในพื้นที่)

อาสาสมัครฝึกงาน