INTERFAITH BUDDY for PEACE

Asst.Prof.Padtheera Narkurairattana and Aj.Chanchai Chaisukkosol visited Phramaha Manop Atirojano, Subdistrict Abbot of Rueso-Si Sakhon and Abbot of Wat Aichia Mangkalaram Temple, Si Sakhon District, Narathiwat Province, and talked with villagers - 16 August 2020

A group of Buddhists and Muslims from Pattani, Yala, and Narathiwat provinces had field visits about “Interfaith Buddies” through health issues in Satul province. The Interfaith Buddies through Health have been led by Phra- khru Sunthon Thammanithet (Assistant Abbot of Chanathip Chalern Temple), Imam Hasan Prudkhum (Bukit Bunga Mosque), and Imam Kareem Kebmamen – 12 December 2020

Monks (from Yaring district, Pattani province, and Trang province) and Bhikkhuni  (from Ko Yo subdistrict, Songkhla province) celebrated young Buddhists and Muslims in bicycling to visit 9 temples and masjids in Panare district, Pattani province in “Bike-Bring-Boon” rally – 17 October 2020

Prakhru Kosit Sutaporn (Tan Khao) -- Abbot of Burapa Temple, Yaring district, Pattani province--with Asst.Prof.Padtheera Narkurairattana and Aj.Chanchai Chaisukkosol visited Prakhru Udom Dharmmatorn (Tan Mook)—the District Abbot of Yaring, and the Abbot of Piyaram Temple. Tan Mook has been a role model of “Interfaith Buddy” for decades. – 13 September 2020

Information

Information

Our works

Issue-based

Area-based

Our Books

หนังสือของเรา

ที่มาของโครงการ

     ความขัดแย้งเป็นสภาวะความปกติที่เกิดขึ้นได้ในทุกสังคม และความขัดแย้งกันอย่างสร้างสรรค์ก็ก่อให้เกิดการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ได้ หากแต่ความรุนแรงต่างหากที่เป็นความผิดปกติและไม่ควรให้เกิดขึ้นโดยเฉพาะในสังคมไทยที่ได้ชื่อว่าเป็นสังคมที่อุดมไปด้วยศาสนาและวัฒนธรรมอันรุ่มรวย และคนไทยใจกว้างเปิดรับความแตกต่างหลากหลายได้ ดังนั้น การจะทำให้ความขัดแย้งหมดสิ้นไปจากสังคมอาจเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงในสังคมใดสังคมหนึ่ง สิ่งที่เป็นไปได้และมีความเป็นจริงมากกว่าคือ การทำให้สมาชิกในสังคมสามารถจะอยู่ร่วมกันได้โดยที่มีทักษะในการขัดแย้งกันอย่างสร้างสรรค์ ไม่เปิดช่องให้ใช้ความรุนแรงสร้างประวัติศาสตร์บาดแผลและทิ้งมรดกเป็นความร้าวลึกทางความสัมพันธ์และนำมาสู่ความแตกแยกกันอย่างที่เป็นอยู่
     ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นสมาชิกสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำงานวิจัยร่วมกับเครือข่ายคณะทำงานภาคประชาสังคมและหน่วยงานราชการ และองค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องตระหนักถึงความสำคัญของการฟื้นฟูเยียวยาและถักทอความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคมพหุวัฒนธรรมเพื่อเป็นตาข่ายสายใยที่จะป้องกันมิให้ความแตกต่างกลายเป็นเงื่อนไขนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรง ทั้งเห็นว่าต้นทุนทางสังคมวัฒนธรรมในชายแดนใต้และในสังคมไทยมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในการจะนำมาเป็นเครื่องค้ำจุนความสัมพันธ์ หากว่าผู้คนในสังคมได้มีโอกาสเรียนรู้ในกระบวนการเดียวกัน จึงได้นำเสนอโครงการนี้เพื่อเชิญชวนให้ผู้นำทางสังคม ผู้นำทางศาสนาได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำศักยภาพแห่งตนมาใช้เพื่อการก้าวข้ามความแตกต่าง เยียวยาฟื้นฟูความสัมพันธ์และนำไปสู่ความปรองดองสมานฉันท์ในสังคม…

กิจกรรม “ปั่น ปัน บุญ”
     อำเภอปะนาเระนั้นถูกป้ายว่าเป็นพื้นที่สีแดง หมายถึง มีความรุนแรงระดับสูงและเป็นพื้นที่ซึ่งเป็นหมุดหมายของความรุนแรงระลอกปี 2547 ที่ทำให้สายสัมพันธ์ระหว่างสองวัฒนธรรม คือ พุทธ-มุสลิม แยกห่างจากกัน แต่กิจกรรมที่เกิดขึ้นในวันที่ 17 เป็นสักขีพยานว่าสายสัมพันธ์ระหว่างสองวัฒนธรรมกำลังได้รับการถักสานฟื้นฟูขึ้นมาใหม่
โต๊ะอิหม่ามในพื้นที่บอกว่า “รู้สึกเป็นเกียรติมาก ๆ ที่ได้ต้อนรับพระ และก็พระผู้หญิง และก็ทุกๆ คน ด้วยความตื่นเต้นดีใจพูดไม่ถูก มัสยิดของเราเล็ก ๆ เท่านั้นและไม่มีสถานที่หรูหราสำหรับต้อนรับ”
ส่วนชาวพุทธที่เข้าร่วมกิจกรรมสะท้อนว่า “รู้สึกมีความหวังมากขึ้นที่ภาพความสัมพันธ์ดี ๆ ในอดีตกำลังจะคืนกลับมาที่บ้านของเรา”

เอกสารชิ้นนี้เป็นชิ้นที่สองของโครงการ “เพื่อนรักต่างศาสนา : ผู้นำกับการถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย” และเป็นส่วนหนึ่งของรายงานความก้าวหน้าครั้งที่สองของโครงการฯ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างดำเนินโครงการรอบ 6 เดือนแรก เนื้อหาของเอกสารชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก เป็นการอธิบายกรอบแนวคิดทฤษฎีและกระบวนขั้นตอนการทำงานของโครงการ

ส่วนที่สอง เป็นบันทึกการเรียนรู้เกี่ยวกับการดูงาน โครงการฯ ได้ชักชวนผู้นำทางการได้แก่ พระและอิหม่าม และผู้นำธรรมชาติ โดยเฉพาะ อสม.ทั้งพุทธและมุสลิม ในสามจังหวัดภาคใต้ เดินทางไปศึกษาดูการทำงานข้ามศาสนานอกพื้นที่ ได้แก่ จ.สงขลา (ทิพยสถานธรรมภิกษุณีอาราม ต.เกาะยอ อ.เมือง), จ.ตรัง (โรงเรียนแสงธรรมวิทยาตรังมูลนิธิ อ.เมือง) และ จ.สตูล (วัดชนาธิปเฉลิม และมัสยิดบูเก็ตบูหงา) เพื่อเรียนรู้รูปแบบ กระบวนการ หลักคิดต่างๆ ในการทำงานข้ามศาสนาผ่านมิติจิตอาสา งานเยาวชน และงานดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุติดบ้าน

ส่วนที่สาม เป็นบทสะท้อนของผู้ร่วมเดินทางไปกับคณะดูงานฯ ว่าด้วยการเรียนรู้และการวิเคราะห์สิ่งท้าท้ายต่างๆ หากจะนำบทเรียนที่ได้จากการดูงาน กลับมาปรับประยุกต์ใช้ในการสร้างเพื่อนรักต่างศาสนา เพื่อสร้างสันติภาพและการปรองดอง ในสามจังหวัดภาคใต้ต่อไป

 

รายงานเล่มนี้นำเสนอผลการดำเนินงานในโครงการ เพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำกับการถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อนำงานวิจัยมาขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคมเพื่อสร้างสันติภาพและความปรองดองไทยโดยริเริ่มจากในพื้นที่ชายแดนใต้ และใช้กระบวนการทำงานภาคสนามควบคู่กับการจัดวงสานเสวนาประชาธิปไตยเชิงลึกและถอดบทเรียนเป็นรายงาน

 

ในระยะที่ 3 การทำงานภายใต้กรอบคิดเรื่องการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งเชิงลึกเพื่อนำสู่สันติภาพและการปรองดองผ่านกลไกคนทำงานทางศาสนาและสุขภาพในพื้นที่จังหวัดยะลาซึ่งมีประวัติศาสตร์ความรุนแรงที่บั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างพุทธ-มุสลิมเป็นจำนวนมาก พบว่าสุขภาพกับสันติภาพและความปรองดองมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดต่อกันมากและเป็นกลไกหลักที่โยงใยผู้คนต่างศาสนา ชาติพันธุ์และวัฒนธรรมให้เข้ามาอยู่ร่วมกันใกล้กันได้อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ประเด็นและคนทำงานด้านสุขภาพเป็นใบเบิกทางให้สันติภาพและความปรองดองเกิดขึ้นได้แม้ในสังคมที่เผชิญภัยความขัดแย้งรุนแรงถึงตาย

 

มิติสุขภาพยังเปิดทางไปสู่การค้นหาวิธีการก้าวข้ามความขัดแย้งแตกแยกไปสู่การร้อยรักถักทอความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นขึ้น เช่น ทำให้พบจิตวิญญาณของชุมชนที่เริ่มต้นจากมิตรภาพที่หยิบยื่นที่ดินสำหรับสร้างวัดและวัดตอบแทนด้วยการดูแลรักษาโรค.  “สะพานดำ” ที่เป็นพื้นที่ความทรงจำร่วมของพุทธ-มุสลิม ขณะที่ “โรงเรียน” “โรงพยาบาล” และ “กลุ่มออมทรัพย์” และ “สวนยาง” คือพื้นที่แห่งการสร้างปฏิสัมพันธ์และเรียนรู้วิถีชีวิตของกันและกันและการเป็น “เพื่อนรัก” ทำให้ไม่ว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้นกี่ครั้งมิตรภาพและความผูกพันจะทำหน้าที่ยึดโยงกันไว้อย่างมั่นคง

 

สังคมที่ขัดแย้งร้าวลึกอย่างยาวนานนับสิบปี มักเผชิญทั้งความรุนแรงทางตรงและความรุนแรงเชิงโครงสร้าง รวมทั้งความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมมากมาย ที่ทั้งก่อให้เกิดการสูญเสียทางกายภาพ และสร้างบาดแผลทางจิตใจและอารมณ์ความรู้สึก กร่อนเซาะและทำลายความไม่ไว้วางใจในกันและกัน ภายใต้โครงสร้างอันไม่เป็นธรรมที่คอยกดขี่และบังคับผู้คน ราวกับจะให้อยู่ในสภาพ “จำยอม” เช่นนั้นตลอดไป  การสร้างความปรองดองภายใต้สภาวะข้างต้นไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น

 

เอกสารชิ้นนี้เขียนขึ้นด้วยความตั้งใจอยากให้สังคมไทยมีกระบวนวิธีการใหม่ๆ ในการทำงานกับความขัดแย้งที่ฝังรากและสร้างความแตกแยกร้าวลึกยาวนานได้โดยไม่ใช่เพียงการให้แต่ละฝ่ายพูดสวยหรูฉาบฉวยหรือแค่เพียงยึดหลักความคิดเหตุผลเท่านั้น ซึ่งบทเรียนของหลายสังคมก็ชี้ให้เห็นว่า ท้ายที่สุดก็นำไปสู่การเอาชนะกันด้วยเหตุผลมากกว่าจะรักษาความสัมพันธ์เชื่อมโยงไว้  งานชิ้นนี้นำเสนอกระบวนการและแนวทางเอื้ออำนวยให้แต่ละฝ่ายได้กลับมารู้สึกสัมพันธ์เชื่อมโยงกันได้จากความกรุณาส่วนลึกจากหัวใจของกันและกัน  เพื่อถักทอความสัมพันธ์และพยายามสร้างสันติภาพและการปรองดองให้เกิดขึ้นจากระดับชุมชนฐานรากในพื้นที่ให้เกิดขึ้นได้จริง พร้อมกับตระหนักถึงความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเชิงโครงสร้างควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรู้สึกถึงการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นธรรมได้มากขึ้น อันจะส่งผลถึงสันติภาพที่ยั่งยืนได้มากขึ้น

 

หัวใจสำคัญ อยู่ ณ จุดที่แต่ละฝ่ายของความขัดแย้งร้าวลึกสามารถพูดด้วยเสียงความรู้สึกนึกคิดลึกๆ ที่แท้จริงของตนเอง และอีกฝ่ายได้ยินทั้งในระดับความเข้าใจที่ครบถ้วน ถูกต้องตามที่ผู้พูดอยากสื่อสาร และในระดับที่สะเทือนเข้าไปถึงหัวใจตนเองได้นั้น แม้เป็นเรื่องยาก แต่เป็นไปได้ และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็จะเป็นจุดพลิกผัน (shift) สำคัญของการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง ซึ่งจะเป็นเนื้อหาหลักของข้อเขียนชิ้นนี้ว่าด้วยเรื่อง “กระบวนการประชาธิปไตยเชิงลึก”

 

กระนั้นก็ตาม กว่าจะถึงจุดนั้นได้ ก็จำเป็นต้องมีการสร้างความรู้จักมักคุ้นและเชื่อมความสัมพันธ์กันระดับหนึ่งก่อน แล้วค่อยๆ “นวด” ให้เกิดความกล้าที่จะพูดคุยกันในเรื่องยากๆมากขึ้น ซึ่งจะได้ฉายภาพรายละเอียดในหัวข้อ “ขั้นตอนและลักษณะงานของฝ่ายที่สาม” และ “การสานเสวนา”  ในส่วนสุดท้าย ข้อเขียนนี้จะได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาในต่างประเทศที่ใช้กระบวนการประชาธิปไตยเชิงลึกในการเชื่อมสัมพันธ์ฟื้นคืนความปรองดองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งหลังจากสังคมได้ผ่านสภาวะแตกแยกร้าวลึกด้วยสงครามและความรุนแรงหลายปี

 

ความขัดแย้งรุนแรงถึงตายที่สร้างความแตกแยกร้าวลึกในสังคมไทย สะท้อนผ่านอาการบาดเจ็บเรื้อรังที่ชายแดนใต้ ลุกลามเป็นขบวนการสร้างความเกลียดชังทางศาสนา ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม มาจนถึงความแตกร้าวแบ่งฝักฝ่ายในสังคมไทยทางอุดมการณ์และจุดยืนทางการเมืองที่แตกต่างกันนั้น เป็นผลมาจากการที่สังคมไทยไม่มีการถอดบทเรียนเพื่อการเรียนรู้สาเหตุแท้จริงของความขัดแย้งและแก้ไขแปลงเปลี่ยนในระดับการถอนรื้อรากเหง้า  ทั้งจดจำ และเฝ้าระวังมิให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกขึ้นได้ใหม่ ผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นแก่สังคมไทยจึงมิใช่เพียงแค่การบาดเจ็บล้มตาย หากแต่ยังฝากบาดแผลเรื้อรังทางกาย ทางใจ และทางความสัมพันธ์ที่เปราะบางยากจะประสาน

 “สันติภาพและความปรองดองในสังคม” เปรียบเสมือนกับการมีสุขภาพองค์รวมที่ดี ผู้คนในสังคมมีความสัมพันธ์ที่ดี มีความเสมอภาคและเป็นมิตรกัน MacQueen and Santa-Barbara (2000) กล่าวไว้ว่า สงครามและความขัดแย้งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงโดยตรงต่อร่างกายจากการยิง การวางระเบิด หรือการทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต นอกจากนี้ ยังทำให้ระบบเศรษฐกิจและระบบกลไกความสัมพันธ์ต่าง ๆ ทางสังคมเสียหาย  ส่งผลกระทบต่อระบบการดูแลสุขภาพของรัฐและสังคมไปด้วยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จะเห็นได้ว่า สุขภาพและสันติภาพนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง นอกจากนี้ งานวิจัยของพัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ และโคทม อารียา (2564) ชี้ให้เห็นบทบาทของผู้นำศาสนาที่ลุกขึ้นจับมือกันทำงานบนฐานมิตรภาพแบบเพื่อนรักข้ามศาสนาเพื่อสร้างสันติภาพและความปรองดองในสังคม โดยใช้ประเด็นทางสุขภาพเป็นเครื่องมือในการถักทอและฟื้นฟูโยงใยความสัมพันธ์ให้เข้มแข็งและยืดหยุ่นเพียงพอต่อการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างอย่างเข้าใจ ให้เกียรติ และเคารพต่อทุกเสียง ไม่ติดกับดักความเกลียดชังและการมองเห็นกันเป็นศัตรู พร้อมสร้างวัฒนธรรมแห่งการสนทนาในประเด็นปัญหาเชิงลึกอย่างเข้าใจถึงความจริงแก่นแท้ที่เป็นสาเหตุของความแตกแยก และพร้อมแปลงเปลี่ยนให้เป็นความปรองดอง

        เพื่อให้งานขับเคลื่อนชี้นำนโยบายสร้างสันติภาพและความปรองดองได้ผลดีขึ้นในสังคมไทย คณะทำงานของโครงการฯ จึงมีข้อเสนอเชิงนโยบายดังต่อไปนี้

  1. การสถาปนาชุดความรู้และกระบวนการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ที่เป็น “กระบวนการ”(Process) มิใช่แค่ “เทคนิค”(Technic) อย่างเป็นระบบองค์รวมโดยใช้ฐานคิด “สุขภาพเพื่อสันติภาพ” ส่งเสริมงานค้นคว้าวิจัยถอดบทเรียนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อป้องกันมิให้วงจรความรุนแรงวนกลับมาทำลายสันติภาพและความปรองดองในสังคมได้อีก
  2. การสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้เกิดการปรองดองด้วยการสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพและความปลอดภัย ลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรค และส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันระดับสูงของแต่ละศาสนา (inter-institutional religious collaboration) ทั้งระดับชาติและระดับจังหวัด
  3. การเปิดพื้นที่สำหรับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ในพื้นที่ความขัดแย้งร้าวลึก โดยใช้กระบวนการสานเสวนาพูดคุยและฟังกันด้วยใจ เพื่อแสวงหาทางออกที่เป็นสันติภาพและความยุติธรรมที่เป็นธรรมอย่างต่อเนื่อง
  4. การสนันสนุนกระบวนการสร้างสันติภาพและความปรองดองโดยอาศัยทุนทางสังคมวัฒนธรรมของชุมชน กระจายอำนาจและทรัพยากรสนันสนุนกิจกรรมและกระบวนการสร้างสุขภาวะสันติภาพและความปรองดองจากชุมชนฐานรากในหลากหลายรูปแบบ
  5. การสร้างพื้นที่สื่อสารสันติภาพที่หนุนเสริมกระบวนการปรองดอง  สร้างพื้นที่  ช่องทาง และกระบวนการสื่อสารสันติภาพบนฐานการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์เพื่อหนุนเสริมบรรยากาศและกระบวนการสร้างสันติภาพและความปรองดอง

Our Buddies

Our Buddies

พระครูอุดมธรรมธร
(เจ้าอาวาส วัดปิยามุมัง)

อิหม่ามอาแว มามะ
(มัสยิดบ่อนอก ต.ปิยามุมัง)

ปัตตานี อ.ยะหริ่ง

หะยี สะมะอี สะอะ
(บ้านท่าน้ำโฆษิตสุตาภรณ์
(เจ้าอาวาส วัดบูรพาราม อ.ยะหริ่ง)

อีหม่าม ซอบรี แยลอ
(มัสยิดโต๊ะแน อ.ปะนาแระ)

ปัตตานี อ.ปานาแระ

สมใจ ชูชาติ
(ผู้ใหญ่บ้าน บ้านนอก ต.บ้านนอก)

อิหม่ามมาหามะ ดือราโอะ
(มัสยิดตักดี)

ปัตตานี อ.ปานาแระ

พระครูศิษฐ์พรหมคุณ
(เจ้าอาวาส วัดพรหมประสิทธิ์ อ.เมือง)

อับดุลอาซิซ เจ๊ะมามะ
(กรรมการอิสลามจังหวัดนราธิวาสและกรรมการอิสลามกลางแห่งประเทษไทย)

ครูธิดา วรรณลักษณ์

นราธิวาส อ.เมือง

อิหม่าม ฮาลัน พรัดขำ
(มัสยิดบูเก็ตบุหงา)

พระครูสุนทรธรรมนิเทศก์
(ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดชนาธิปเฉลิม)

อิหม่าม การีม เก็บมาเม็น
(มัสยิดเราดอตุลญันนะห์)

สตูล อ.เมือง

อ.นุมาน สะอะ
(ประธานมุสลิมสัมพันธ์จังหวัดตรัง)

พระอิทธิยาวัธย์ สุวีรวราวุฒิ โชติปัญโญ
(วัดนิคมประทัป)

พระมหาธีรยุทธ จิตตปุญโญ
(เลขานุการ เจ้าคณะอำเภอเมทองตรัง) - ลูกหลวง

ดร.ซอลีเฟาะ โต๊ะหลี
(ผู้อำนวยการ โรงเรียนแสงธรรมวิทยาตรังมูลนิธิ) - แม่หญิง

ตรัง อ.เมือง

นาฎนภางค์ คล้ายนิมิตร

วันทนา ขาเร็ง

ยะลา ต.ยุโป อ.เมือง

Partners

Scroll to Top