Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

INTERFAITH BUDDY for PEACE

“เพื่อนรักต่างศาสนา” สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน กับความท้าทายทั้งวิถีวัฒนธรรมที่แตกต่างและความมั่นคง

“เพื่อนรักต่างศาสนา” สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน กับความท้าทายทั้งวิถีวัฒนธรรมที่แตกต่างและความมั่นคง

เขียนโดย อุสตาซ อับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการเจรจาสันติภาพและข้อเสนอทางออกทางการเมืองในจังหวัดชายแดนใต้

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

วันอาทิตย์ที่ 12 -13 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานีซึ่งผู้เขียนมีโอกาส ร่วมเวทีสาธารณะและแสดงนิทรรศการ “เพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยมี 4 ชุมชนตัวอย่างที่ผู้นำศาสนา ผู้หญิง เด็ก ครู ผู้ปกครองและชุมชนในนามเครือข่ายเพื่อนรักต่างศาสนา ซึ่งตระหนักในการลุกขึ้นมาเอาจริงเอาจังกับการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนและครบวงจรจากชุมชนของตนเอง โดยใช้แนวคิดหลักศาสนธรรม โดยเฉพาะ “พุทธ-อิสลาม”กับการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG ของสหประชาชาติโดยจะใช้ศักยภาพชุมชนฐานราก อันเป็นปัจจัยเอื้อสำคัญต่อกระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินการอยู่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าโครงการ “เพื่อนรักต่างศาสนากับการถักทอสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก” จัดเวทีสาธารณะ แสดงผลงานของชุมชนเพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพ โครงการนำร่องทั้ง 4 พื้นที่ใน 4 จังหวัด นำร่องใน อ.จะนะ จ.สงขลา, อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี, อ.เมือง จ.ยะลา, และ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ซึ่งโครงการ “เพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก” นี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล ในโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ประจำปีงบประมาณ 2566 (Policy Advocacy 2023) กิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันที่ 12 – 13 พฤษภาคม 2567 

ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2567 นางสาวเยาวภา อินชะนะ ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกล่าวเปิดงาน

โดยมี ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “สันติภาพและความเป็นธรรมจากชุมชนฐานรากสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”

ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ภก.ดร.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมอบข้อเสนอเชิงนโยบาย ต่อผู้แทนคณะกรรมาธิการสันติภาพ, เลขาธิการ ศอบต., แม่ทัพภาค 4, ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด, และประธานกรรมการอิสลามจังหวัด ณ ห้องน้ำพราว ห้องจะบังติกอ โรงแรมซีเอส ปัตตานี

วันที่ 13 พฤษภาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.โคทม อารียา อดีตคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และที่ปรึกษาโครงการเพื่อนรักต่างศาสนาฯ ร่วมกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “มิตรภาพ หัวใจแห่งสันติภาพที่ยั่งยืนชายแดนใต้”

และรองศาสตราจารย์ ภก.ดร.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวปัจฉิมกถา “ภูมิปัญญามหิดลกับการสร้างสันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน” ณ ห้องจะบังติกอ โรงแรมซีเอส ปัตตานี

ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการในหัวข้อ “จะนะโมเดล: เพื่อนรักต่างศาสนาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสันติภาพ,” “เพื่อนรักปานาแระ,” “ชุมทางทุ่งคา: เพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพ,” และ “ยุโป: มิตรภาพและสันติภาพยั่งยืน 

☘️ การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีความมุ่งหวังเพื่อขยายผลการขับเคลื่อนชี้นำนโยบายการสร้างสันติภาพและความปรองดองอย่างยั่งยืนบนฐานมิตรภาพและสุขภาวะอย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อจัดทำฐานข้อมูลโครงการนำเสนอข่าวสารที่หนุนเสริมการสร้างสันติภาพและความปรองดองอย่างยั่งยืนบนฐานมิตรภาพและสุขภาพจากชุมชนฐานรากชายแดนใต้

เครือข่ายเพื่อนรักต่างศาสนาเสนอ 5 ข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อสันติภาพที่อย่างจากชุมชนฐานราก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ เสนอ 5 ข้อเสนอเชิงนโยบาย ดังนี้

ข้อเสนอที่ 1. พื้นที่ปลอดภัย และพื้นที่ปลอดอาวุธ: ขอให้รัฐและฝ่ายผู้เห็นต่างเร่งลดความรุนแรง เพิ่มพื้นที่ปลอดภัยและป้องกันการก่อเหตุอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน เช่น ถนน ตลาดร้านค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างทั่วถึงและ สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้ภาคประชาชนได้ใช้ชีวิตและดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างปลอดภัยในสังคมพหลักษณ์ และทำให้พื้นที่ศาสนสถาน โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นเขตปลอดอาวุธ

ข้อเสนอที่ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะสร้างสรรค์สังคมพหลักษณ์: เพิ่มพื้นที่สาธารณะสร้างสรรค์สังคมพลักษณ์ที่เป็นกลางและปลอดภัยเพื่อให้สามารถฟื้นฟูความสัมพันธ์ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้คนต่างศาสนา ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมในชายแดนใต้ เช่น พิพิธภัณฑ์บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ร่วมรากอันหลากหลายวัฒนธรรมประเพณีร่วมถิ่นของชุมชน สนามกีพาหรือพื้นที่เล่นร่วมกันของเด็กในชุมชน พื้นที่เรียนรู้และพัฒนาอาชีพร่วมกันในชุมชน โดยรัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซงหรือควบคุมให้เป็นแบบใดแบบหนึ่ง

ข้อเสนอที่ 3. กระจายอำนาจให้ภาคประชาชนออกแบบสังคมสันติสุขบนวิถีวัฒนธรรมชุมชน : กระจายอำนาจและการตัดสินใจให้ชุมชนพลักษณ์ได้ร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนาอย่างสันติและยั่งยืนบนฐานความต้องการของชุมชนด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน โดยรัฐ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญชั้นสูงอย่างเป็นรูปธรรม

ข้อเสนอที่ 4. ยกระดับภูมิปัญญาชุมชนเป็น Soft Power: รัฐต้องสนับสนุนทุนให้ชุมชนกันหาและพัฒนาศักยภาพเพื่อสร้างความยั่งยืนบนฐานภูมิปัญญาทางสังคมวัฒนธรรมร่วมรากและฐานทรัพยากรชุมชนเพื่อยกระดับเป็น Soft Power ที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ร่วมราก การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาและสมุนไพรจากพืชพันธุ์อันหลากหลาย การฟื้นฟูระบบนิเวศของฐานทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เชิงประวัติศาสตร์ เชิงสุขภาพ

ข้อเสนอที่ 5. เพิ่มช่องทางการสื่อสารสร้างสรรค์อัตลักษณ์วัฒนธรรมชุมชนพลักษณ์: เพิ่มช่องทางการสื่อสารเรื่องราวการสร้างสันติภาพจากภูมิปัญญาของชุมชนที่แสดงให้เห็นวิถีวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างภาคภูมิใจในอัตลักษณ์อันหลากหลายของพื้นที่ชายแดนใต้

#ความท้าทาย

สำหรับเพื่อนรักต่างศาสนานั้นใช้ แนวคิด หลักธรรมศาสนา ในส่วนมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น จะใช้แนวคิด “رحمة للعالمين “ เมตตาต่อทุกสรรพสิ่งเป้าหมายของศาสนาอิสลามซึ่งพระเจ้าได้ส่งศาสนฑูตมุฮัมมัดเพื่อให้ความเมตตาต่อประชาชาติทั้งมวล ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เชื้อชาติ สีผิวใดหรือเเม้กระทั่งสิงห์สาราสัตว์ 

บาบอฮุสนี บินหะยีคอเนาะ ผู้จัดการโรงเรียนศาสนบำรุงซึ่งโรงเรียนท่านร่วมโครงการนี้ด้วยสะท้อนว่า

“ผู้ร่วมผลักดันสันติภาพบนผืนแผ่นดินคือผู้นำคำสอนของอิสลามให้เป็นรูปธรรมเพราะแก่นแท้จิตวิญญาณอิสลามคือสันติภาพ”

ในขณะที่การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นจะใช้ศักยภาพชุมชนฐานรากโดยเฉพาะ ชุมชนจะนะ จังหวัดสงขลาด้วย 15 ยุทธศาสตร์จะนะยั่งยืน สอดคล้องทั้งหลักการสากล SDG แต่ก็ถูกมองจากรัฐเป็นภัยความมั่นคงอีกทั้งถูกเหมารวมเป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดนเพราะต่อต้านโครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่ใช้วาทกรรมขวางพัฒนาดั่งที่ชาวจะนะโดน

ซึ่งท้ายสุดคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม. )ได้ออกแถลงข่าวแนะ ให้กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า หยุดการเผยแพร่สื่อที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน https://detective-news.com/index2022/?p=56341)

ผู้เขียนได้สะท้อนในเวทีเพื่อนรักต่างศาสนาครั้งนี้ว่า

“ในเชิงประจักษ์ ผลการจัดเวทีวันนี้นั้นสะท้อนว่า ในการพัฒนาที่จะนะนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของจะนะแต่ควรทำทั่วโลก ทำจากฐานข้อมูลที่ชัดเจนจากชุมชนเป็นฐาน จากนั้นก็จะนำไปจับกับ การพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDGs แต่ละตัว เพื่อให้คนทั้งโลกมีสุขภาวะ สันติสุข สันติภาพร่วมกันทั้งโลก สิ่งนี้ทำให้เห็นชัดว่า จะนะ กำลังเชื่อมโลกบนฐานข้อมูลที่แท้จริง สู่ ข้อเสนอเชิงนโยบายในอนาคต ท้ายที่สุดเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากร ให้ทรัพยากรเป็นของทุกคนอย่างแท้จริง”

หลักธรรมคำสอนสายกลางของศาสนาอิสลามจะสะท้อนออกสู่วิถีชีวิตมุสลิมซึ่งในภาพรวมมีหลักศรัทธา หลักปฏิบัติที่เเตกต่างจากคนต่างศาสนิก ในขณะที่เป้าหมายของศาสนาอิสลามซึ่งพระเจ้าได้ส่งศาสนฑูตมุฮัมมัดเพื่อให้ความเมตตาต่อประชาชาติทั้งมวล ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เชื้อชาติ สีผิวใดหรือเเม้กระทั่งสิงห์สาราสัตว์ เเต่เมื่อกลับไปดูปฏิบัติการณ์บางอย่าง บางคน ในพื้นที่ซึ่งได้รับข้อมูลจากคนต่างศาสนิกโดยเฉพาะพระในพื้นที่เช่นเด็กๆมุสลิมบางส่วน(เท่านั้น)เมื่อเห็นพระยังถ่มน้ำลายต่อพระ ซึ่งสิ่งนี้ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับนักวิชาการมุสลิมว่าจะทำอย่างไรที่จะอธิบายให้คนของตัวเองได้เข้าใจในหลักการอิสลามที่ถูกต้องจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติให้ได้

ไม่เพียงเท่านั้น หากกิจกรรมใดที่เป็นกิจกรรม(อาจจะ)ร่วมเเต่อาจจะมีบางส่วนเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาเช่นกิจกรรมวันไหว้ครู การเสียชีวิตของต่างศาสนิกเเละกิจกรรมทางสังคมที่อาจมีบางส่วนที่อาจมีพิธีกรรมทางศาสนา เรื่องเหล่านี้ก็เป็นโจทย์สำคัญสำหรับมุสลิมโดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะช่วยชี้เหตุผล หลักการว่าส่วนไหนทำได้ไม่ได้เเค่ไหนอย่างไรเพื่อมุสลิมเองจะได้ปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน รัฐได้จัดการได้ถูกต้องเเละชาวบ้านต่างศาสนิกจะได้เข้าใจ

“นี่คือคือความท้าทายของมุสลิมกับต่างศาสนิกต่างวัฒนธรรม” สำหรับกรอบการทำงานเรื่องพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้หรือประเทศ “คำตอบและข้อเสนอแนะของอดีตจุฬาราชมนตรี  เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมและไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม”
(อ่านเพิ่มใน https://deepsouthwatch.org/th/node/1228,https://www.gotoknow.org/posts/399112)

หมายเหตุประมวลภาพใน https://www.facebook.com/share/p/U9E8zxzSJikE1e12/

คัดลอกมาจาก http://mediaslatan.blogspot.com/2024/05/blog-post_30.html

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *